•   Back
    • เครื่องตัดผ้า
    • เครื่องตัดสติ๊กเกอร์
    • เครื่องตัดเลเซอร์
Load More

End of Content.

การตัดสติ๊กเกอร์

  รู้จักกับสติกเกอร์

ความนิยมใช้สติกเกอร์ในปัจจุบันนั้นมีแนวโน้มที่จะนำไปใช้มากขึ้นในหลายๆ ธุรกิจ ส่วนใหญ่เป็นการนำไปใช้สำหรับงานโฆษณา ประชาสัมพันธ์ นำเสนอข้อมูลต่างๆ หรือนำไปตกแต่งเพื่อความสวยงาม และที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในเวลานี้ก็คือผู้ค้ารายย่อยหรือ SME นำสติกเกอร์ไปติดเป็นฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่น่าจดจำให้กับสินค้าของตัวเอง ซึ่งเราจะเห็นได้ทั่วไปบนกล่องสินค้าหรือแพ็คเกจของเครื่องสำอางต่างๆ หรือกล่องอาหาร สินค้า OTOP ต่างๆ

 

  สติกเกอร์มีกี่ชนิด

สติกเกอร์นั้นมีด้วยกันอยู่หลายแบบ ลักษณะทั่วไปของสติกเกอร์จะมีกาวเหนียวอยู่ด้านล่าง ซึ่งจะประกบติดมากับกระดาษรองหลังสติกเกอร์ เวลาใช้ให้ลอกสติกเกอร์ที่ต้องการออกจากกระดาษรองหลัง กระดาษรองหลังนี้จะมีทั้งชนิดหนาและชนิดบาง สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับลักษณะการใช้งานของเราได้ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าควรเลือกใช้แบบไหนและใช้งานอย่างไร ลองมาทำความรู้จักกับสติกเกอร์ในแต่ละแบบกัน

·            สติกเกอร์กระดาษ (Paper Sticker)

เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะใราคาถูก มีให้เลือกใช้หลายชนิด เช่น สีขาวแบบมัน(Glossy) สีขาวแบบด้าน(Matt) สีเงินกลอสซี่ สีทองกลอสซี่ อีกทั้งยังมีสติกเกอร์กระดาษอื่นๆ ให้เลือกใช้อีกเยอะแยะ เหมาะกับวัสดุที่ไม่ต้องโดนน้ำ และใช้ติดฉลากสินค้าทั่วๆ ไปได้ดี โดยคุณสมบัติของสติกเกอร์ชนิดนี้ สามารถโดนน้ำได้ประมาณ 40% ทนความร้อนได้ประมาณ 90 องศาเซลเซียส แต่ถ้าเคลือบลามิเนต ก็จะทนการซึมของน้ำได้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่ถึง 100%

·            สติกเกอร์ พีวีซี ( PVC Sticker)

เป็นสติกเกอร์ที่ทำจากพลาสติก PVC มีความเหนียวคงทน นิยมใช้กับงานที่ต้องตากแดด ตากฝน โดนน้ำ โดนแสงแดดจัดเป็นประจำ มีราคาจะแพงกว่าสติกเกอร์กระดาษ เหมาะกับงานประเภทฉลากสินค้าทั่วๆ ไป สามารถโดนน้ำได้ 100% และทนความร้อนได้ประมาณ 40-60 องศาเซลเซียส

·            สติกเกอร์พีพี (PP sticker)

สติกเกอร์แบบนี้มีความเรียบเนียนและสวยงามกว่าสติกเกอร์ทั่วไป สามารถโดนน้ำได้ 100% ทนความร้อนได้ถึง 90 องศาเซลเซียส ที่นิยมใช้มีอยู่ 3 ชนิด คือ พีพีใส พีพีขาวกลอสซี่ และพีพีแมท มีความเหนียวคงทน เหมาะสำหรับงานที่ต้องโดนน้ำโดยตรง กันน้ำได้มากกว่าสติกเกอร์พีวีซี แต่ราคาก็แพงกว่าด้วยเช่นกัน

·           สติกเกอร์พีอีที (Pet sticker)

สามารถโดนน้ำได้ 100% และทนความร้อนได้ประมาณ 140-200 องศาเซลเซียส จึงทนความร้อนได้ดี นิยมใช้กับงานที่เกี่ยวกับความร้อน เช่น ฉลากติดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอุณหภูมิสูง หรือใช้ติดสินค้าทั่วๆ ไปที่มีอุณหภูมิสูง ทนต่อความร้อนและน้ำได้ดี มีทั้งแบบแผ่นและม้วน

·           สติกเกอร์กันปลอม (Hologram Sticker)

นิยมนำมาใช้กับสินค้าที่มีราคาสูง เช่น สติกเกอร์รับประกันสินค้า Void กันปลอม เป็นต้น สามารถโดนน้ำและทนความร้อนได้ 100% คุณสมบัติที่พิเศษกว่าสติกเกอร์ชนิดอื่นคือ เมื่อลอกออก จะทิ้งลายตัวอักษรไว้ สะท้อนแสงไฟเป็นสีเหลือบเหมือนสีรุ้ง

·            สติกเกอร์สุญญากาศ (Vacuum Sticker)

นิยมใช้ติดกระจกรถยนต์ หรืองานอื่นๆ เช่น บัตรจอดรถของอาคารหรือที่พักอาศัย ติดกระจกเพื่อโฆษณาทั่ว ๆ ไป สามารถโดนน้ำได้ แต่ไม่นิยมเอาไปติดในสถานที่เปียก ทนความร้อนได้ประมาณ 40-60 องศาเซลเซียส

·            สติกเกอร์ซีทรู (See Through

นิยมใช้กับงานโฆษณาบนกระจกรถประจำทาง และหน้าร้านต่างๆ ด้วยคุณสมบัติที่สามารถมองทะลุผ่านได้ โดยที่ด้านนอกมองไม่เห็นด้านใน สามารถโดนน้ำได้ ทนความร้อนได้ประมาณ 40-60 องศาเซลเซียส สติกเกอร์แบบนี้มีราคาค่อนข้างสูง จึงนำมาใช้ในภาคธุรกิจเป็นส่วนใหญ่