•   Back
    • เครื่องพิมพ์เสื้อ เครื่องพิมพ์ผ้า
    • เครื่องพิมพ์ CAD
    • เครื่องพิมพ์ DFT
    • เครื่องพิมพ์รูปภาพ/เอกสาร
    • เครื่องพิมพ์ UV
Load More

End of Content.

เครื่องพิมพ์รูปภาพ / เอกสาร

เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท (Inkjet Printer)

อิงค์เจ็ท คือ เครื่องพิมพ์พ่นหมึก มาจากคำว่า Ink-Jet Printers เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคุณสมบัติสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบและขนาดที่ แตกต่างกันมากๆ รวมไปถึงพิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์คมชัด แต่เดิมสามารถพิมพ์ได้ 4 สีโดยใช้หมึกเติม แต่ในปัจจุบัน มีเพิ่มเข้ามา 6 สี หรือ 8 สี เพื่อลดปัญหาในการผสมสี แต่ก็จะมี 4 สีเป็นแม่สีหลัก ซึ่งข้อดีของเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท คือ ภาพที่ออกมากจะสวยงามกว่า เครื่องปริ้นเลเซอร์ ซึ่งจะดูมีความเป็นธรรมชาติ ความคมชัดสูง แต่จะใช้เวลาพิมพ์นานกว่า จึงเหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป ที่ไม่ใช่ร้านค้า หรือสำนักงาน เพราะจำนวนการพิมพ์ไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม นักศึกษา นักเรียน วัยเรียน แต่ก็อาจมีบางบริษัทที่ใช้อิงค์เจ็ทเพราะเน้นงานที่มีความสวยงามเป็นหลัก เช่น สตูดิโอ

เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นหมึกใช้ในการพิมพ์ก็คือการพ่นหมึกหยดเล็กๆ ไปที่กระดาษ โดยหยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้วเป็นตัวอักษรหรือรูปภาพตาม ต้องการ เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกมีความเร็วในการพิมพ์โดยมีหน่วยวัดความเร็วเป็น หน้าต่อนาที-PPM (Page Per Minute) อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นการพิมพ์กราฟิกหรือตัวอักษรที่มีรูปแบบในเวลาเดียวกัน เครื่อง พิมพ์พ่นหมึกจะทำงานได้ช้าลง ทั้งนี้ ความเร็วในการพิมพ์โดยประมาณคือ 0.5 ถึง 12 หน้าต่อนาที ความละเอียดในการพิมพ์ประมาณ 180-1440 จุดต่อนิ้ว-dpi (dot per inch) กระดาษที่ใช้กับเครื่องพิมพ์พ่นหมึกจะเป็นขนาด 8.5×11 หรือ A4 ซึ่งพิมพ์ได้ทั้งแนวตั้งที่เรียกว่า “พอร์ตเทรต” (Portrait) และแนวนอนที่เรียกว่า “แลนด์สเคป” (Landscape)

5 ข้อต้องรู้ก่อนพิมพ์อิงค์เจ็ท

  1. อิงค์เจ็ท เป็นเครื่องพิมพ์แบบระบบพ่นหมึกมีสีหลัก 4 สี คือแดง(Magenta) เหลือง(Yellow) ฟ้า(Cyan)และดำ(Black) เครื่องพิมพ์บางแบรนด์เช่น HP อาจเพิ่มสี Light Cyan และ Light Magenta เพื่อทำให้การพิมพ์รูปภาพมีสีสันและมิติการไล่โทนของสีที่ดีขึ้นกว่าปกติ
  2. เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทถูกสั่งงานโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับเครื่อง printer ทั่วไปที่ใช้กันตามบ้าน ดังนั้นข้อดีของเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทก็คือไม่จำเป็นต้องทำเพลทเหมือนระบบซิลค์สกรีนหรือระบบออฟเซ็ต ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี
  3. ไฟล์งานอิงค์เจ็ทขนาดใหญ่สำหรับงานพิมพ์/โฆษณา ป้ายบิลบอร์ด งานป้าย งานไวนิล หรืออื่นๆ เพื่อความละเอียดและคมชัดจึงต้องใช้ซอฟแวร์กราฟฟิคเฉพาะทาง เพื่อให้รักษาความละเอียดของงานเอาไว้ได้มากที่สุด ดังนั้นไฟล์งานสำหรับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทขนาดใหญ่ระดับ Business จึงจำกัดให้ใช้งานได้เฉพาะรูปแบบไฟล์กราฟฟิคอย่างเช่น ai eps psd pdf jpg png tiff ฯลฯ ดังนั้นรูปแบบไฟล์ตระกูล MS Office ที่นิยมใช้ในงานเอกสารต่างๆ จึงต้องมีการ convert เพื่อแปลงเป็นไฟล์กราฟฟิคดังที่กล่าวมาข้างต้นเสียก่อน
  4. ไฟล์กราฟฟิคมีอยู่ 2 รูปแบบหลักๆ คือ
    1. เวกเตอร์ เป็นการคำนวณสมการทางคณิตศาสตร์โดยโปรแกรมในการสร้างรูปจากจุดรูปแบบต่างๆ เป็นเส้นสายสีต่างๆ รูปแบบของภาพชนิดนี้จึงเป็นข้อมูลที่แสดงผลบนการคำนวณดิจิทัล ดังนั้นไม่ว่าเราจะย่อ-ขยายรูปประเภทนี้สักเท่าไร รูปภาพก็จะยังคมชัดและสีสันถูกต้องเหมือนเดิมทุกครั้ง
    2. ราสเตอร์ เป็นรูปแบบไฟล์รูปภาพชนิดดิจิทัลที่สร้างรูปภาพขึ้นจากการนำจุด(pixel) มาเรียงต่อกันตามตำแหน่งที่กำหนดจากการคำนวณของตัวโปรแกรม แต่ละจุดมีสีและตำแหน่งของตัวเอง เมื่อต้องการจะย่อ-ขยาย จึงเป็นการทำซ้ำจุดสีใกล้เคียงเพิ่มเป็นจุดใหม่หรือลดจำนวนจุดพิกเซลใกล้เคียงลง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ภาพถูกลดทอนความคมชัดลง นี่คือสาเหตุหลักของปัญหาภาพแตก เป็นรอยหยักตามขอบ ภาพไม่คมชัด มี artifect ภาพเละเป็นจุดเหลี่ยมๆในภาพ ส่งผลให้คุณภาพของภาพหรือของชิ้นงานด้วย เพราะฉะนั้นปัจจัยที่สำคัญเพื่อคุณภาพของชิ้นงานที่ดีนั้นควรจะต้องพิจารณาจากขนาดของภาพต้นฉบับ (source) และขนาดของชิ้นงานที่เราต้องการว่าต่างกันขนาดไหน
  5. ความเพี้ยนของสี ที่เกิดจาก Color Mode ที่ใช้ในการสร้างชิ้นงาน ซึ่งเกิดจากความกว้างของการแสดงสี (Color Gamut) ของโหมดสีแสดงผล(RGB) และโหมดสีการพิมพ์(CMYK) ที่มีความแตกต่างกัน เพราะในการพิมพ์สีนั้น เกิดจากการผสมแม่สีแบบลบ (Subtractive Color Mixing) ส่วนโหมดสีสำหรับแสดงผล (โหมดสีขของแสง) ให้การผสมสีเชิงบวก (Additive Color Composite) ซึ่งได้ความกว้างของสีที่มากกว่า จึงควรพิมพ์ proof เพื่อเช็คสีก่อนพิมพ์ชิ้นงานจริง

เครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)

เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดใช้แรกที่ถูกใช้งาน โดยการทำงานจะใช้หัวเข็มกระแทกเข้ากับผ้าหมึกส่งไปยังกระดาษ ซึ่งภาพเกิดขึ้นจากสีของน้ำหมึกซึมเข้าไปในผ้าหมึก ลักษณะการใช้งานจะมีเสียงดังมาก ซึ่งจะแตกต่างกับ เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท และ เครื่องปริ้นเลเซอร์ ที่จะไม่มีเสียงใดๆเลย เครื่องพิมห์หัวเข็ม มักใช้กับงานที่ต้องใช้สำเนา เพราะความสามารถในการพิมพ์ได้ครั้งละหลายๆ แผ่น ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเครื่องพิมพ์หัวเข็ม แต่จะไม่เหมาะอย่างมากในงานพิมพ์ที่มีความละเอียดสูง หรือต้องใช้รูปภาพ แต่ด้วยความทนทาน และราคาผ้าหมึกที่ถูก จึงทำให้เครื่องพิมพ์หัวเข็มยังเป็นที่นิยมอยู่บ้างในปัจจุบัน

 

เครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม เครื่องพิมพ์ดอทเมตริกซ์ ทำงานโดยใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นเครื่องพิมพ์หัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้นๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่นๆและกระแทกกับผ้าหมึกลงกระดาษที่ใช้พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ตาม สำนักงาน ห้างร้าน บริษัท โรงงาน จะพิมพ์เกี่ยวกับ เอกสารใบกำกับภาษี ใบส่งของ ใบเสร็จอื่นๆ แต่ข้อเสียคือเวลาสั่งพิมพ์จะเกิดเสียดัง

 

เครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม ดอตแมทริกซ์ ในปัจจุบันส่วนใหญ่ นิยมใช้กันมี 3 แบบ

  1. เครื่องพิมพ์แบบ 9 เข็ม
  2. เครื่องพิมพ์แบบ 24 เข็ม
  3. เครื่องพิมพ์แบบ 32 เข็ม

การพิจารณาซื้อเครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม
ควรพิจารณาคุณลักษณะที่สำคัญ 5 ข้อหลักๆ ดังต่อไปนี้

  1. จำนวนเข็มของหัวพิมพ์ เครื่องพิมพ์ที่ใช้ทั่วไปหัวพิมพ์มีเข็มเล็ก ๆ จำนวน 9 เข็ม แต่ถ้าต้องการให้งานพิมพ์มีรายละเอียดมาก หรือมีรูปแบบตัวหนังสือสวยขึ้น หัวพิมพ์ควรมีจำนวนเข็ม 24 เข็ม การพิมพ์ตัวหนังสือในภาวะความสวยงาม
  2. คุณภาพของหัวเข็มกับงานพิมพ์ หัวเข็มเป็นลวดที่มีกลไกขับเคลื่อน ใช้หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า หัวเข็มที่มีคุณภาพดี ต้องแข็ง สามารถพิมพ์สำเนากระดาษหนาได้สูงสุดถึง 5 สำเนา คุณสมบัติการพิมพ์สำเนานี้เครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องจะพิมพ์ได้ไม่เท่ากันเพราะมีคุณภาพแรงกดไม่เท่ากัน ทำให้ความชัดเจนของกระดาษสำเนาสุดท้ายจะต่างกัน
  3. ขนาดของเครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้มีขนาดเครื่อง อยู่ 2 ขนาด คือใช้กับกระดาษกว้าง 9 นิ้ว และ 15 นิ้ว หรือพิมพ์ได้ 80 ตัวอักษร และ 132 ตัวอักษรในภาวะ 10 ตัวอักษรต่อนิ้ว
  4. ที่พักข้อมูล คุณลักษณะในเรื่องที่พักข้อมูลก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการพิมพ์งานนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลลงไปเก็บในที่พักข้อมูล ถ้าที่พักข้อมูลมีขนาดใหญ่ก็จะลดภาระการส่งงานของคอมพิวเเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ได้มากขึ้น
  5. การพิมพ์สี เครื่องพิมพ์บางรุ่น มีภาวะการพิมพ์แบบสีได้ การพิมพ์แบบสีจะทำให้งานพิมพ์ช้าลง และต้องใช้ริบบอนพิเศษ หรือริบบอนที่มีสีการสั่งงานที่แป้นสั่งงานบนเครื่องปัจจุบันเครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีปุ่มควบคุมการสั่งงานอยู่บนเครื่องและมีจอภาพแอลซีดีขนาดเล็กเพื่อแสดงภาวะการทำงาน

ขอขอบคุณบทความดีๆจากเว็บไซต์ https://sawaddeeit.com