•   Back
    • เครื่องพิมพ์เสื้อ เครื่องพิมพ์ผ้า
    • เครื่องพิมพ์ CAD
    • เครื่องพิมพ์ DFT
    • เครื่องพิมพ์รูปภาพ/เอกสาร
    • เครื่องพิมพ์ UV

เครื่องพิมพ์ CAD

เครื่องพิมพ์ชนิดเขียนด้วยปากกา (Plotters)

 

เนื่องจากการแสดงรูปภาพกราฟิกของเครื่องพิมพ์ มีข้อจำกัดด้านคุณภาพ ความละเอียดและขนาดของภาพ ดังนั้นจึงได้มีการผลิตเครื่องพิมพ์ที่ออกแบบมาสำหรับงานที่ใช้กับการออกแบบทั้งหลาย เช่น CAD/CAM, Auto-CAD และการวาดต่างๆ ทางด้านวิศวกรรม (เขียนลงในกระดาษไข) เป็นต้น ซึ่งเรามักจะเรียกเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ว่า พล็อตเตอร์ (Plotter)

Plotter เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาในการพิมพ์มากกว่า 1 ด้าม เพื่อให้ได้ภาพที่มีความละเอียด ความคมชัดของภาพสูง และถ้าจำนวนปากกาเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลทำให้คุณภาพ ความละเอียด ความคมชัดของภาพสูงขึ้นด้วย เพราะถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้กับงานที่ต้องการพิมพ์รูปภาพกราฟิกความละเอียดสูง เช่น การออกแบบ พิมพ์เขียว แผนผัง แผนที่ และ Chart ต่างๆ ที่มีความซับซ้อนของภาพสูงๆ หรือภาพที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ธรรมดาได้ เครื่องพิมพ์ Plotter จึงเหมาะสำหรับงานพิมพ์ด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม งานตกแต่งภายใน งานด้านศิลปะ ฯลฯ

เครื่องพิมพ์ Plotter มีการทำงานคล้ายกับเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริกซ์ เพราะใช้การเคลื่อนที่ของชุดสร้างภาพไปบนแกน X และแกน Y โดยชุดสร้างภาพนี้จะใช้จับปากกาแล้ววาดภาพตามที่ออกแบบในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยสามารถกำหนดปากกาได้ 6 – 8 สี ตามขนาดของ Plotter ความเร็วในการทำงานของ Plotter ปัจจุบันนี้มีความเร็วกว่า 12 นิ้วต่อวินาที

 

เครื่องพิมพ์ Plotter ออกเป็น 2 ประเภท

  1. Flatbed Plotter เป็นพล็อตเตอร์ประเภทที่ใส่กระดาษวางไว้อยู่กับที่ แต่ส่วนเคลื่อนที่คือปากกา ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปมาบนแกนโลหะเพื่อวาดลงบนกระดาษอีกทีหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่าพล็อตเตอร์แบบระนาบก็มีความหมายถึงเครื่องวาดที่สามารถวาดบนแผ่นกระดาษที่วางแบนๆ เรียบๆ ได้ โดยประกอบด้วยก้านซึ่งเคลื่อนที่ไปมาได้อิสระ ติดตั้งไว้ด้วยหัววาดซึ่งอาจเป็นปากกา ดินสอหรืออุปกรณ์พิเศษอื่นๆ โดยขนาดของกระดาษที่ใช้งานได้ มีตั้งแต่ขนาด 28×43 ซม. ไปจนถึง 244×366 เซนติเมตร ซึ่งความเร็วของการวาดมีตั้งแต่ 15 ซ.ม. ไปจนถึง 100 ซม. ต่อวินาทีเลยทีเดียว จึงนิยมนำมาใช้ในการวาดแผนที่ กราฟ หรือภาพแผนที่แสดงภูมิอากาศ
  2. Drum Plotter เป็นเครื่องพล็อตเตอร์ที่มีแกนหมุนอยู่ด้านล่าง ทำหน้าที่ในการเคลื่อนกระดาษ ส่วนของปากกาและหมึกจะอยู่ด้านบน โดยเคลื่อนที่ไปทางด้านซ้ายและด้านขวาเพื่อวาดรูปหรือวงจรตามต้องการ พล็อตเตอร์แบบดรัมเป็นพล็อตเตอร์ที่มีรูปเป็นทรงกระบอกหรือดรัม ที่มีกระดาษพันอยู่โดยรอบ ชุดแกนหมุนนี้สามารถจะหมุนไปข้างหน้าและข้างหลังได้ และตัวพล็อตเตอร์ก็จะมีปลายที่เป็นเหมือนปากกาติดอยู่เหนือดรัม ซึ่งจะเลื่อนไปซ้ายไปขวาได้ เวลาทำงานก็จะวาดหรือลากเส้นลงบนกระดาษ โดยใช้การขยับขึ้นลงของดรัมและปากกาแบบสัมพันธ์กัน จนทำให้เกิดเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้งได้ตามต้องการ แต่ความแม่นยำของเครื่องชนิดนี้มีน้อยกว่าเครื่องแบบระนาบ แต่ราคาก็ถูกกว่าเช่นกัน จึงนิยมใช้กันมากในกลุ่มธุรกิจเชิงพาณิชย์

การจำแนก Plotter ตามรูปแบบการทำงาน

  • เครื่องพล็อตเตอร์ปากกา (Pen Plotter) วาดเส้นหรือาภาพโดยการเคลื่อนย้ายดินสอหรือปากกา 1 แท่ง หรือมากกว่า

  • เครื่องพล็อตเตอร์ฉีดหมึก (Ink-Jet Plotter) วาดเส้นและรูปทรงเป็นสีๆ โดยการฉีดหมึกลงบนกระดาษ เครื่องพล็อตเตอร์ฉีดหมึกนิยมใช้กับงานด้านวิศวกรรม และงานออกแบบยานยนต์

  • เครื่องพล็อตเตอร์ไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Plotter) ใช้ไฟฟ้าสถิตในการวาดภาพโดยการสร้างจุดเล็กๆ บนกระดาษพิเศษ งานที่นิยมใช้เครื่องพล็อตเตอร์ประเภทนี้ ได้แก่ งานโฆษณา และการออกแบบภาพกราฟิก

  • เครื่องพล็อตเตอร์ความร้อน (Thermal Plotter) วาดเส้นหรือภาพโดยการใช้หัวเข็มไฟฟ้า และกระดาษที่ไวต่อความร้อน แต่จะพิมพ์ได้เพียง 2 สี เท่านั้น

เมื่อเทคโนโลยีมีการพิมพ์แบบ Ink-Jet มีการพัฒนาขึ้น ช่วยให้ผู้ประกอบการในปัจจุบันก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องความละเอียดและความคมชัดของเครื่องพิมพ์แบบเก่าไปโดยสิ้นเชิง เครื่องพิมพ์พล็อตเตอร์สมัยใหม่ที่ก้าวเข้ามาทดแทน ด้วยข้อดีที่ครบครันทั้งความละเอียดและความคมชัดเทียบเท่าภาพถ่าย กับการทำงานที่รวดเร็วกว่าเดิม สำหรับธุรกิจหรือผู้ที่ทำงานด้านออกแบบสถาปัตยกรรม งานก่อสร้าง วิศวกรรม ตกแต่งภายใน งานแผนที่ภูมิอากาศ งานพิมพ์ภาพถ่ายหรืออื่นๆ เครื่องพิมพ์ Ink-Jet Plotter สามารถตอบได้ทุกโจทย์ของธุรกิจอย่างแท้จริง

สแกนและพิมพ์แพทเทิร์นเสื้อได้ทั้งตัว

เครื่องพิมพ์ CAD พิมพ์แบบแปลนได้ถึงขนาดใหญ่สูงสุดถึง A0 ช่วยแก้ปัญหาให้กลุ่มผู้ที่ทำงานในธุรกิจก่อสร้าง รวมถึงดีไซน์เนอร์ ด้วยการสแกนแพทเทิร์นเสื้อแบบเต็มตัวพร้อมทั้งสั่งพิมพ์ได้ทันที


งานสแกนเอกสารขนาดใหญ่ของแบบแปลนก่อสร้าง หรือแม้แต่แพทเทิร์นเสื้อผ้า ที่มีความยากลำบากในการทำ copy หาร้านรับพิมพ์ได้ยาก รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ที่สูงมากและด้วยเหตุนี้เครื่องพิมพ์ CAD จึงได้เข้ามาตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้กับกลุ่มผู้ใช้งานดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

เลือกเครื่องพิมพ์ CAD แบบไหนดี ?

  • การจัดการกระดาษ ขนาดแกน 2 นิ้ว สูง 110 mm. หนัก 3kg.
  • รองรับกระดาษประเภท กระดาษอิงค์เจ็ทเคลือบ,กระดาษไข,กระดาษธรรมดา
  • เชื่อมต่อผ่าน LAN/WI-FI/USB
  • หน่วยความจำขนาด 1GB
  • ประกันนาน 3 ปี

  • ต้นทุนต่ำ พิมพ์งานได้ในปริมาณมาก
  • สะดวกกว่า ด้วยแท็งค์หมึกในตัวแบบใหม่
  • ขนาดกะทัดรัดเพียง 970mm x 577mm x 245mm วางได้ทุกมุมห้อง แม้บนโต๊ะทำงาน
  • ตัวเครื่องออกแบบมาเป็นพิเศษป้องกันฝุ่น