ไม่มีหมวดหมู่

DTG DFT DTF แตกต่างกันอย่างไร? เครื่องสกรีนแบบไหนเหมาะกับคุณ

เสียเวลาอ่าน 2-3 นาที คุณจะเข้าใจทุกการสกรีนเสื้อดิจิตอล พิมพ์เสื้อ/พิมพ์ผ้า แน่นอน!!

DTG คือ Direct To Garment หมายถึง เครื่องพิมพ์ตรงลงบนเสื้อ (มักเป็นเสื้อ, กางเกง, กระเป๋า ที่ทำการตัดเย็บเรียบร้อยมาแล้ว)

DTG คือ Direct To Garment หมายถึง เครื่องพิมพ์ตรงลงบนเสื้อ (มักเป็นเสื้อ, กางเกง, กระเป๋า ที่ทำการตัดเย็บเรียบร้อยมาแล้ว)

 

 

ส่วนมาก เครื่องพิมพ์ DTG จะเป็นน้ำหมึกพิกเมนต์(Pigment) พิมพ์ลงบนเสื้อ น้ำหมึกจะจมยึดเข้าไปในเสื้อ หรือ ถ้านูนขึ้นมาก็ไม่มาก ทำได้ทั้งผ้าสีขาว สีอ่อน และ สีดำ หรือ สีเข้ม มักนิยมทำกับผ้าใยธรรมชาติ เช่น คอตตอน ยีนส์ แต่จริงๆแล้วก็สามารถทำบนผ้าใยสังเคราะห์ได้ โดยการเลือกน้ำยาพรีทรีสเมนท์สำหรับผ้าโพลีเอสเตอร์

เครื่องพิมพ์เสื้อ DTG นี้ กำลังเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มเสื้อยืด สกรีนเสื้อยืด พิมพ์เสื้อยืด OVP เพราะไม่ต้องทำบล็อคสกรีน ไม่จำกัดจำนวนสี ไม่ต้องมีจำนวนในการผลิต เพียงตัวเดียวก็พิมพ์ได้ ไม่เหมือนบล็อคสกรีนในอดีต เครื่องพิมพ์เสื้อระบบDTGสามารถผสมสีได้เป็น 10,000++ สี ในระบบดิจิตอล ซึ่งลบข้อจำกัดของงานสกรีนเสื้อแบบเก่าที่จำกัดสีแค่ 2-3 สี และ การทำจำนวนน้อยก็ไม่คุ้มค่ากับการขึ้นบล็อคสกรีนด้วย แต่ในเครื่องสกรีน DTG นั้น จะทำจำนวนเยอะ จำนวนน้อย หรือเพียงตัวเดียว ต้นทุนการพิมพ์ก็เท่ากัน และในปัจจุบัน ราคาน้ำหมึก DTG นั้น ก็ถูกลงมาก เริ่มต้นเพียง 1 บาท จนถึงประมาณ 8 บาท ต่อ cc.

การทำผ้าสีดำ หรือ สีเข้ม ปริ้นเตอร์ต้องพิมพ์สีขาวเพื่อรองพื้นก่อนพิมพ์สี ลักษณะงานประเภทนี้ จะต้องทำการพรีทรีส เสื้อดำ ด้วยน้ำยา พรีทรีสเมนท์ เสียก่อน เพื่อให้สีขาวเกาะติดซึมลึกเข้าไปกับเสื้อ ถ้าไม่พรีทรีส หรือ แม้พรีทรีส ไม่ดีก็ตาม ก็จะทำให้สีขาวยึดติดกับเนื้อผ้าไม่ดี อาจหลุดเมื่อนำไปซัก

เครื่องพิมพ์ DTG ประเภทนี้ ก็มีหลายยี่ห้อในท้องตลาด เช่น EPSON , Brother , Kornit เป็นต้น สนนราคา ตั้งแต่ 300,000-10,000,000 บาท ขึ้นอยู่กับกำลังการผลิตเป็นสำคัญ ตั้งแต่รองรับ ระดับขายออนไลน์, custom made, Print On Demand (POD), ร้านออกแบบเสื้อผ้า จนถึงอุตสาหกรรมพิมพ์ผ้า

แต่…..ยังไม่จบ!!! หลายท่านอาจเคยเห็นเครื่องพิมพ์เสื้อ DTG ระดับราคา 10,000-50,000 บาท นั้น จริงๆ มันคือ เครื่องปริ้นเตอร์ พิมพ์กระดาษ พิมพ์ภาพ พิมพ์เอกสาร และนำมาดัดแปลง ชุดฟีดกระดาษให้เป็นชุดฟีดผ้า ดังนั้น ต้องเข้าใจระบบการทำงานของเครื่องพิมพ์ และระบบหัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เหล่านั้นด้วยว่า มันเป็นสำหรับรองรับน้ำหมึกพิมพ์กระดาษและรองรับการพิมพ์กระดาษ ไม่สามารถรองรับน้ำหมึกพิมพ์เสื้อและงานพิมพ์เสื้อได้

DFT คือ Digital Film Transfer หมายถึง เครื่องพิมพ์ฟิล์มเพื่อนำไปทรานเฟอร์ลงบนเสื้อ ผ้า กระเป๋า หรือ วัสดุต่างๆ

เครื่องพิมพ์ DFT นี้ จะพิมพ์หมึก น้ำเงิน แดง เหลือง ดำ ( C M Y K ) และ ขาว ( W ) ลงบนฟิล์ม ซึ่งเป็นฟิล์มใสเปล่าๆ ซึ่งราคาต้นทุนถูกมาก เมื่อพิมพ์นำหมึกลงไปบนฟิล์มเรียบร้อยแล้ว ก็ทำงานโรยผงกาว ซึ่งเป็นผงกาวที่ใช้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอโดยตรง เป็นกาวที่ยึดติดกับยึดบนผ้าต่างๆ เมื่อทำการโรยผงกาวเรียบร้อย ก็ทำการอบด้วยความ

เมื่อพิมพ์ฟิล์ม DFT เสร็จเรียบร้อย ก็ถึงกระบวนการรีด เราก็จะนำฟิล์มที่พิมพ์เสร็จนั้นมารีดติดบนเสื้อ ซึ่งใช้ความร้อนประมาณ 170-180 องศาเซลเซียส และ เวลาประมาณ 10-15 วินาที ก็ทำการลอกฟิล์มออก นำหมึกที่เราปริ้นลงบนฟิล์มโดยมีผงกาวโรย และหลอมละลายอยู่ด้านหลังตัวหมึกนั้น ก็ติดยึดลงไปในเนื้อผ้า (เน้นว่า ติดยึดลงไป บนเนื้อผ้า) ไม่ได้ลงไปซึมลึกในเนื้อผ้า

เนื่องจากการสรีนเสื้อ DFT นี้ จะมีเพียงแค่น้ำหมึกติดบนผ้า ไม่มีฟิล์ม ไม่มีแผ่น PU แผ่น PVC เหมือนเฟล็กในสมัยก่อน ข้อดี คือ

– ยืดหยุ่นได้สูงตามเนื้อผ้า

– สีค่อนข้างตรง เพราะไม่มีสีของเนื้อวัสดุมาผสม

– ไม่แข็ง กระด้าง สามารถเคลื่อนไหวได้ตามเนื้อผ้า

– ผสมสีได้เป็นหมื่นๆสี ไม่ต้องทำบล็อค

– จำนวนน้อยก็ทำได้

– ราคาถูกกว่าเฟล็กและวิธีอื่นอย่างมาก

วิธีการสกรีนเสื้อ DFT นี้ สามารถรีดติดได้บนวัสดุที่หลากหลาย ผิวโค้ง เช่น หมวก กระเป๋า กระเป๋าหนัง PU หมวกกันน็อค กระติกน้ำ

วิธีการนี้ยังสามารถทำกับผ้าที่ทำสีด้วยระบบซับลิเมชั่นได้ ไม่ทำให้สีที่ทำงานซับลิเมชั่นหลุดแต่อย่างใด ปกติการสกรีนแบบ DFT นี้ การันตีความคงทนอยู่ที่ 30-50 การซัก

**ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ประกอบ**

DTF คือ Direct To Fabric หมายถึง เครื่องพิมพ์ตรงลงบนผ้า ซึ่งหมายถึงผ้าม้วน ผ้าหลา ส่วนมากเครื่องพิมพ์ประเภทนี้ จะอยู่ในอุตสาหกรรมผ้าและสิ่งทอ

DTF (Direct To Fabric) หมายถึง เครื่องพิมพ์ตรงลงบนผ้า ซึ่งหมายถึงผ้าม้วน ผ้าหลา ส่วนมากเครื่องพิมพ์ประเภทนี้ จะอยู่ในอุตสาหกรรมผ้าและสิ่งทอ มักใส่หมึก re active, acids หรือ Pigment ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อผ้า และความต้องการของอุตสาหกรรม


เครื่องพิมพ์ DTF กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกระบวนการพิมพ์ผ้ากำลังเปลี่ยนถ่ายจากระบบอนาล็อค (analog) ซึ่งเป็นการ screen printing แบบ flat-bed หรือแบบ rotary ก็ตาม ซึ่งต้องมีขั้นตอนการแยกสีต่างๆ เป็นแบบดิจิตอล (Digital) โดยใช้เครื่องพิมพ์เป็นตัวควบคุมสีในการพิมพ์สามารถสั่งผสมสีได้ตามต้องการ

การพิมผ้าแบบระบบอนาล็อก และแบบโรตารี่ เป็นการพิมพ์ผ้าแบบเดิม ที่กำลังเปลี่ยนเป็นระบบพิมผ้าแบบดิจิตอล หรือ dtf

จำนวนในการพิมพ์ที่ไม่ต้องมีขั้นต่ำ


เนื่องจากการพิมพ์อนาล็อคต้องมีการขึ้นแพลท ขึ้นแบบ แยกสี ทำบล็อค ดังนั้น จำนวนน้อย จึงทำไม่คุ้ม จึงมีขั้นต่ำในการพิมพ์ เช่น 10,000 หลา หรือ 50,000 หลา เป็นต้น แต่ด้วยระบบดิจิตอลซึ่งใช้เครื่องพิมพ์มาเป็นตัวสั่งพิมพ์นั้น ทำให้จำนวนน้อย แม้เพียง 1 หลา ก็พิมพ์ได้

ระบบการสกรีนแบบ DTF นั้น มักนิยมอยู่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ โรงงานย้อมผ้า โรงงานสิ่งทอ เพราะกระบวนการผลิตนั้น มิใช่เพียงการพิมพ์และจบในทันที กระบวนการเริ่มตั้งแต่ ก่อนการพิมพ์ต้องทำการ Pre-Coating ผ้าที่จะพิมพ์, เมื่อพิมพ์เสร็จแล้ว ต้อง Dryer ให้แห้ง, นำไป steaming คือ เครื่องอบผ้าด้วยไอน้ำ และ washing สีส่วนเกินออก ทั้งหมดนี้ จึงต้องเป็นโรงงานที่มีกระบวนการเหล่านี้ในการรองรับงานพิมพ์แบบ DTF เครื่องพิมพ์ DTF กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกระบวนการพิมพ์ผ้ากำลังเปลี่ยนถ่ายจากระบบอนาล็อค (analog) ซึ่งเป็นการ screen printing แบบ flat-bed หรือแบบ rotary ก็ตาม ซึ่งต้องมีขั้นตอนการแยกสีต่างๆ เป็นแบบดิจิตอล (Digital) โดยใช้เครื่องพิมพ์เป็นตัวควบคุมสีในการพิมพ์สามารถสั่งผสมสีได้ตามต้องการ

Steaming Machine

DTF Printer

INKSPA ดำเนินการธุรกิจด้านสกรีนดิจิตอลครบวงจร

* เรายินดีให้คำปรึกษาทั้งก่อน และหลังการทำงาน

* เรายินดีให้คำปรึกษาทั้งผู้เริ่มต้น และมืออาชีพ


* เรายินดีให้คำปรึกษาทั้งธุรกิจขนาดย่อย ธุรกิจขนาดเล็ก หรือธุรกิจขนาดใหญ่


* เรายินดีให้คำแนะนำในพื้นฐานข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง ไม่หลงทางและสับสน

ติดต่อพวกเราได้ที่ !!

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *